จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

การสื่อสาร




                    การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งจะต้องทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารเเละผู้รับสาร

ความสำคัญของการสื่อสาร 

            - ด้านสังคม เพื่อเกิดความเข้าใจ กฏระเบียบ การอยู่รวมกันอย่างสงบสุขในสังคม

            - ความสัมพันธ์ต่ออุตสาหกรรมและธุรกิจ เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้า ชักจูงผู้บริโภคโดยการโฆษณา
            - ด้านการปกครอง ใช้เป็นกลไกการกระจายข่าวสารต่าง ๆ สู่ผู้ปกครองให้เข้าใจตรงกันและรับทัศนคติของผู้ถูกปกครอง

วัตถุประสงค์ในการสื่อสาร

        ผู้ส่งสารมีจุดประสงค์ให้ผู้รับได้ทราบความต้องการของตน ว่าตนต้องการสื่อไปในรูปแบบไหน อาจจะมุ่งให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามที่ผู้ส่งสารกำหนดไว้ มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารคล้อยตาม และเพื่อเสนอหรือชักจุงใจให้กระทำและตัดสินใจ

องค์ประกอบของการสื่อสาร  มี  5  องค์ประกอบ  ดังนี้

             1.  ผู้ส่งสาร  (Sender) คือบุคคล  หน่วยงานที่เป็นผู้ส่งสาร  แหล่งกำเนิดสาร  แล้วส่งสารไปยังบุคคลหรือหน่วยงานอื่นด้วยวิธีเดียว  หรือหลายวิธี
             2.  สาร  (Message)  คือ  เรื่องราว  สิ่งต่าง ๆ  ในรูปข้อมูล  ความรู้  ความคิด  หรืออารมณ์ที่ผู้ส่งสารให้ผู้อื่นรับรู้  แล้วเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง  ประกอบด้วย
                    2.1  รหัสสาร  ทั้งที่ไม่ใช้ถ้วยคำ  (กิริยา  ท่าทาง  เครื่องหมาย)  และใช้ถ้อยคำ  (ภาษาพูด  ภาษาเขียน)
                    2.2  เนื้อหาสาร  แบ่งเป็น  ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น
                    2.3  การจัดสาร  คือ  รวบรวมเนื้อหา  เรียบเรียงด้วยการใช้รหัสของสารที่เหมาะสม
             3.  สื่อหรือช่องทาง  (Medium  or  Channal)
                    สื่อ  หมายถึง  สิ่งที่เป็นพาหนะที่ทำให้สารเคลื่อนที่ออกไปจากตัวผู้ส่งสาร
                    ช่องทาง  หมายถึง  ทางที่ทำให้ผู้ส่งสาร  และผู้รับสารติดต่อกันได้
             4.  ผู้รับสาร  (Receiver)  คือ  ผลที่เกิดจากการรับสารทางพฤติกรรม  เช่น  หัวเราะ  พอใจ  ทำให้ทราบถึงความสำเร็จของการสื่อสาร
             5. การตอบกลับ (Feed back) คือ การตอบกลับของผู้รับสารไปยังผู้ส่งสารอีกที อาจเป็นคำพูดโต้ตอบ หรือการแสดงความคิดเห็น หรือการใช้ท่าทาง เช่น แสดงอาการง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า



อุปสรรคในการสื่อสาร

        1. เกิดจากผู้ส่งสาร 

        2. เกิดจาตัวสาร
        3. เกิดจากสื่อหรือช่องทาง
        4. เกิดจากผู้รับสาร



โมเดลการสื่อสารของ Harold  Lasswell

     แบบจำลองการสื่อสารของลาสเวลล์ (Lasswell, อ้างใน รายงานการวิจัยเรื่องการรับรู้และเข้าถึงสื่อสารธารณสุขในจังหวัดเชียงราย, 2547:  49) เป็นแบบจำลองการสื่อสารที่อธิบายกระบวนการสื่อสารในเชิงพฤติกรรม (The Behavioral of Thought)  เป็นการศึกษาปฏิกิริยาระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เนื้อหาข่าวสาร ชนิดของสื่อที่ใช้และผลอันเกิดจากการกระทำการสื่อสาร ลาสเวลล์อธิบายกระบวนการสื่อสารโดยตั้งเป็นคำถามเกี่ยวกับผู้ส่งสาร  ผู้รับสาร  และผลของการสื่อสาร  คือ
              ใคร  (who)                             คือ  ผู้ส่งสาร  ซึ่งเป็นตัวกำหนดและควบคุมเนื้อหาข่าวสาร
              พูดอะไร  (says what)             คือ  สารหรือเนื้อหาสาระของเรื่องที่ถูกสื่อสารออกไป
              ในช่องทางใด  (in which channel)  คือ  ตัวกลาง  หรือสื่อที่ข่าวสารถูกส่งผ่านไปยังผู้รับ
              ถึงใคร  (to whom)                 คือ  ผู้รับสาร
              ได้ผลอะไร  (with that  effect)  คือ  สิ่งที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการสื่อสาร

แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของลาสเวลล์ 

                ใคร                พูดอะไร                ในช่องทางใด                ถึงใคร               ได้ผลอะไร
  (who)             (says what)         (in  which  channel)        (to whom)           (with that  effect) 

             สรุป   แบบจำลองของลาสเวลล์เน้นการอธิบายกระบวนการสื่อสารแบบง่าย ๆ เป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน  ผู้สื่อสารปรากฏตัวขณะทำการสื่อสาร  และเชื่อว่าเนื้อหาข่าวสารที่ส่งไปยังจุดหมายปลายทางจะต้องมีจุดมุ่งหมาย  เพราะการสื่อสารในแต่ละครั้งจะต้องเกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง


        เเบบจำลอง บอร์โล   (Berlo)

        เป็นผู้คิดกระบวนการของการติดต่อสื่อสารไว้ในลักษณะรูปแบบจำลอง SMCR Model (ดังรูป) อันประกอบด้วย
      1. ผู้ส่ง (Source) ้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การเข้ารหัส" (encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย

      2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสารนั้น
   3. ช่องทางในการส่ง (Channel) มายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสารข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
  4. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การถอดรหัส" (decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล 







เเบบจำลองของแชนนันและวีเวอร์ 






        ได้คิดรูปแบบจำลองของการสื่อสารขึ้นในลักษณะของกระบวนการ สื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง กระบวนการนี้เริ่มด้วยผู้ส่งสารซึ่งเป็นแหล่งข้อมูล ทำหน้าที่ส่งเนื้อข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยผ่านทางเครื่องส่งหรือตัวถ่ายทอด ในลักษณะของสัญญาณที่ถูกส่งไปในช่องทางต่างๆ กัน แล้วแต่ลักษณะของการส่งสัญญาณแต่ละประเภท เมื่อทางฝ่ายผู้รับได้รับสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสารนั้นอีกครั้งหนึ่งให้ตรงกับที่ผู้ส่งส่งมา ในขั้นนี้เนื้อหาที่รับจะไปถึงจุดหมายปลายทาง คือผู้รับตามต้องการ แต่ในบางครั้งสัญญาณที่ส่งไปอาจถูกรบกวนหรืออาจมีบางสิ่งบางอย่างมาขัดขวางสัญญาณนั้น ทำให้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ได้รับมีความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้เนื้อหาข่าวสารที่ส่งจากแหล่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางอาจผิดเพี้ยนไป นับเป็นความล้มเหลวของการสื่อสารเนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปกับข้อมูลที่ได้รับไม่ตรงกัน อันจะทำให้เกิดการแปลความหมายผิด หรือความเข้าใจผิดในการสื่อสารกันได้





       "สิ่งรบกวน" คือ สิ่งที่ทำให้สัญญาณเสียไปภายหลังที่ถูกส่งจากผู้ส่งและก่อนที่จะถึงผู้รับทำให้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ได้รับ มีลักษณะแตกต่างกัน และอาจกล่าวได้ว่าเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร เนื่องจาทำให้การสื่อสารไม่ได้ผลเต็มที่ 



แบบจำลองการสื่อสารตามแนวคิดของออสกูดและชแรมม์




            จากแบบจำลองจะเห็นว่า ในกระบวนการสื่อสารนั้น ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารต่างกระทำหน้าที่เดี่ยวกัน กล่าวคือ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสารอันเกิดจากที่ทั้งสองฝ่ายต้องกระทำเหมือนกันในระหว่างที่ทำการสื่อสาร คือการ เข้ารหัส แปลความ และถอดรหัสให้เป็นสัญลักษณ์ส่งไปยังผู้รับสารซึงเมื่อรับเนื้อหาข่าวสารไว้แล้ว ก่อนที่จะทำการส่งสารออกไป ก็ต้องนำสารที่ส่งออกมาเข้ารหัสแปลความและถอดรหัสเช่นเดี่ยวกัน เพื่อส่งกลับไปยังผู้รับซึงเป็นผู้ส่งในครั้งแรก อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่าบุคคลหนึ่งทำหน้าที่ทั้งผู้ส่งสารและในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ผู้รับสารด้วยดังจะเห็นจากแผนภาพ



แบบจำลองการสื่อสารของชแรมม์

ความหมาย
ชแรมม์ได้ให้ความหมายของการสื่อสารไว้ว่า  การสื่อสาร  คือ  การมีความเข้าใจร่วมกันต่อเครื่องหมายที่แสดงข่าวสาร



 ชแรมม์  (Schramm) ให้ความสำคัญกับการสื่อความหมาย การสื่อสารจะเกิดประสิทธิภาพหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับประสบการณ์ร่วมกันของผู้ส่งสาร และผู้รับสาร   ซึ่งชแรมม์  ได้เสนอแบบจำลองการสื่อสารไว้  3  รูปแบบ  ดังนี้
 แบบที่ 1 การสื่อสารเป็นกระบวนการเส้นตรง ประกอบด้วย แหล่งข่าวสาร การเข้ารหัส  สัญญาณ  ถอดรหัส และจุดหมายปลายทาง 
 แบบที่ 2 เป็นกระบวนการสื่อสารที่ผู้ส่งและผู้รับสารมีประสบการณ์บางอย่างร่วมกัน ทำการสื่อสารอยู่ภายใต้ขอบเขตประสบการณ์ของแต่ละฝ่าย ความสำเร็จของการสื่อสารจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ร่วมของผู้สื่อสาร
 แบบที่ 3 เป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สื่อสาร ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องทำงานเหมือนกันในระหว่างที่ทำการสื่อสาร คือการเข้ารหัสสาร แปลความ และถอดรหัสให้เป็นสัญลักษณ์ ส่งไปยังผู้รับสาร ซึ่งเมื่อรับเนื้อหาข่าวสารไว้แล้ว ก่อนที่จะทำการส่งสารออกไป ก็ต้องนำสารที่จะส่งออกมาเข้ารหัส แปลความ และถอดรหัส เช่นกัน แล้วส่งกลับไปยังผู้รับหรือผู้ส่งในครั้งแรก




 สรุปของชแรมม์
1.  แบบจำลองนี้เรียกว่า  กระบวนการสื่อสารแบบวงกลม
2.  หัวใจสำคัญของแบบจำลองนี้  คือ  การสื่อความหมาย  และการแปลความหมายของสัญลักษณ์
3.  ผู้ส่งสารจะสามารถเข้ารหัส  และผู้รับสารจะสามารถถอดรหัสข่าวสารได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน
4.  ผู้ส่งสารและผู้รับสารมีประสบการณ์มากเท่าใด  การสื่อสารยิ่งเป็นไปได้ง่าย  และสะดวก

จะเห็นได้ว่าการสื่อสารนั้นได้มีบุคคลต่างๆได้ออกมาให้ความหมายหรือพยายามที่จะอธิบายขั้นตอนการสื่อสารให้ออกกมาเป็นรูปเเบบจำลองต่างๆมากมายหลายเเบบจำลอง เเต่โดยรวมเเล้วการสื่อสารนั้นสำหรับตัวของข้าพเจ้าเองนั้นมีความคิดเห็นว่า มันเป็นเพี่ยงเเค่การติดต่อสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างตัวผู้รับสารกับตัวผู้ส่งสาร จนเกิดความเข้าใจตรงกันตามที่ผู้ส่งสารต้องการ ซึ่งมันก็จะมีทั้งเเบบการสื่อสารทางเดียวกับการสื่อสารสองทาง ซึ่งก็เเตกต่างกันเพียงเล็กน้อยคือการสื่อสารสองทางจะมีการตอบกลับของข้อมูลที่ได้รับจะผู้ส่งสาร ในรูปเเบบต่างๆกลับไปหาผู้ส่งสารอีกครั้ง เพื่อที่จะมีการสื่อกันต่อไปอีก เเละการสื่อสารนั้นไม่ว่าจะเป็นในรูปเเบบทางเดียวหรือสองทางมันก็สามารถที่จะเกิดข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอซึ่งก็คือตัวอุปสรรคหรือสิ่งรบกวนต่างๆ ที่จะส่งผลต่อการสื่อสารของเราให้ด้อยประสิทธิภาพลง ซึ่งตัวอุปสรรคต่างๆนี้ก็เกิดขึ้นได้จากผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ตัวสาร ช่องทางการส่งสาร เเละตัวผู้รับสารเองด้วย ดังนั้นการที่เราจะมีการติดต่อสื่่อสารกันให้ดีที่สุดจึงควรที่จะมีการเตรีมการที่ดีในทุกๆด้านเพื่อที่จะเกิดประสิทธิภาพในการสื่อสารได้มากที่สุด 
การสื่อสารนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากเเละมีบทบาทสำคัญต่อทางด้านการศึกษาไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านการบริหาร ด้านฝ่ายบริการ เเละฝ่ายอื่นๆ ย่อมต้องใช้การสื่อสารเพื่อดำเนินงานในการทำงานต่างๆอยู่ตลอดเวลา เเละทางฝ่ายด้านการเรียนการสอนก็เป็นฝ่่ายที่มีความสำคัญมาก เพราะต้องมีการสื่อสารระหว่างครูผู้สอนเเละผู้เรียนอยู่ตลอดเวลาในการเรียนการสอน เพื่อที่จะถ่ายทอดข้อมูลจากตัวครูผู้สอนไปยังนักเรียน ซึ่งตัวผู้เรียนก็จะต้องมีความเข้าใจที่ตรงกันเเละตรงตามความต้องการที่ครูผู้สอนพยายามที่จะสื่อสารออกไปด้วย ดังนั้นการเรียนการสอนนั้นจะมีผลสัมฤทธิ์ออกมาได้ดีมากน้อยเพียงใดก็เกิดจากการสื่อสารที่เป็นปัจจัยหนึ่งด้วยเช่นกัน ดังนั้นตัวครูผู้สอนจะต้องมีความพร้อมในการสอนอีกพร้อมทั้งความรู้เนื้อหาสาระต่างๆที่ต้องการที่จะถ่ายทอด โดยที่การจะเลือกใช้สื่ออะไรในการสือสารก็จะต้องเลือกให้เหมาะสมเเละสอดคล้องกับตัวจุดประสงค์ เเละเนื้อหาสาระของบทเรียนนั้นๆอีกเช่นกัน พร้อมทั้งการที่จะจัดสภาพเเวดล้อมต่างๆก็ควรที่จะคำนึงถึงด้วย ซึ่งเมื่อตัวครูผู้สอนมีการเตรียมการที่ดีเช่นนี้ ย่อมจะส่งผลให้การสื่อสารออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเอง